ให้ใจข้าวช่วยดูแลคุณ
5 วิธีแก้ง่วงตอนเช้า
20 March 2020
เคยไหมเข้านอนหัวค่ำ แต่ทำไมตอนเช้ายังง่วงอยู่ ถึงจะกินกาแฟ แก้ง่วงตอนเช้า แต่ก็ยังง่วงอยู่ดี ทั้งที่เราก็เข้านอนไวกว่าเดิม ถึงเวลาต้องตื่นกลับไม่อยากลุกจากเตียง การขุดตัวเองออกจากฟูกอันนุ่มนิ่มกลายเป็นเรื่องยากเย็นไปเสียแล้ว…?
ใจข้าวมี 5 วิธี แก้ง่วงในตอนเช้า มาฝากค่ะ
1. ใช้แสงแดดปลุกให้ตื่น⛅️การใช้นาฬิกาปลุกช่วยให้ตื่นได้ตรงเวลาก็จริง แต่การสะดุ้งตื่นขณะที่ ร่างกายกำลังอยู่ในสภาพผ่อนคลายกลับกลายเป็นการสร้างภาระให้อวัยวะต่างๆ และสมอง เนื่องจากทุกส่วนยังไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับใช้งาน จึงไม่แปลก ที่เราจะรู้สึกหงุดหงิดเมื่อได้ยินเสียงนาฬิกาปลุก
การปล่อยให้ร่างกายตื่นเองตามธรรมชาติ โดยใช้แสงแดดยามเช้าเป็น ตัวกระตุ้นแทน ช่วยให้ระบบประสาทอัตโนมัติ อุณหภูมิร่างกาย สมอง และหัวใจพร้อมทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดีกว่า การวางเตียงให้อยู่ใกล้กับหน้าต่าง บานใหญ่เพื่อให้แสงส่องถึงได้ง่าย ติดม่านบาง ๆ กรองแสงไว้สักนิด แล้ว ปล่อยแสงแดดทำหน้าที่ของมัน เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้ตื่นเช้าได้อย่างสดใสแล้ว
*หากใช้ผ้าม่านเนื้อหนา ก่อนนอนให้เปิดช่อง ไว้สัก 10 เซนติเมตร เพื่อให้แสงแดดส่อง เข้ามาได้พอดี ๆ ไม่มาก หรือน้อยเกินไป
*วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่ตื่นเวลา 7 โมงเป็นต้นไปเท่านั้น
2. ออกกำลังกายเบาๆ ก่อนลุกจากเตียง??
หลายๆคนต่างทราบกันดีว่า การออกกำลังกายช่วงเช้าดีต่อสุขภาพและช่วยให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่าตลอดวัน เพราะได้กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเซโรโทนิน และการทำงานระบบประสาทซิมพาเทติก เมื่ออุณหภูมิร่างกายเพิ่มสูงขึ้น ก็ทำให้ ตาสว่าง หายง่วง และพร้อมทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ทันที
สำหรับคนที่มีเวลาจำกัดในช่วงเช้า สามารถออกกายบริหารเบาๆ บนเตียง แทนได้ ด้วยการขยับแขนเล็กน้อย พร้อมกับยกขาขึ้นลงเป็นจังหวะ ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักๆ อย่างวิ่งหรือเวตเทรนนิ่ง เพราะยัง วอร์มร่างกายไม่พอ อาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายหรือสมองขาดเลือดได้
ส่วนใครที่มีเวลาสัก 30 นาที ลองออกไปเดินช้าๆ เพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์ และอาบแดดยามเช้า หรือฝึกโยคะเพื่อฝึกการหายใจ เพราะเป็นการออก กำลังกายที่เหมาะกับตอนเช้ามากที่สุด
3. ดื่มน้ำ 1 แก้วหลังตื่นนอน?
การดื่มน้ำ 1 แก้วหลังตื่นนอนจะช่วยให้ตาสว่างและรู้สึกสดชื่นได้ทันที แม้การนอนหลับตลอดคืนร่างกายจะไม่ได้ทำงานหนัก แต่ก็ยังมีเหงื่อออก ฉะนั้นเมื่อตื่นนอน ร่างกายจะสูญเสียน้ำไปราว 200 มิลลิลิตร การเติมน้ำ จึงเปรียบเสมือนกับการเปิดระบบทำงานของร่างกาย หากอยู่ในภาวะขาดน้ำ ระบบไหลเวียนโลหิตและการปรับอุณหภูมิร่างกายจะไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ จึงทำให้รู้สึกงัวเงียอยู่
*ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็นจัด เพราะทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายที่ กำลังเพิ่มขึ้นหยุดชะงัก การทำงานของระบบเผาผลาญ ต่ำลง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพโดยรวม ฉะนั้นควร ดื่มน้ำที่ระดับอุณหภูมิห้องจะดีกว่า
4. อาบน้ำอุ่น?
ถ้าอยากให้เช้าวันใหม่สดใส ไม่งัวเงียหลังลุกจากที่นอน ขอแนะนำให้ เปิดน้ำอุ่นจากฝักบัวอาบให้ทั่วตัว เพื่อกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติกให้ ทำงานเต็มที่ โดยตั้งอุณหภูมิน้ำไว้ราว 41 องศาเซลเซียส หรือแค่รู้สึกว่า อุ่น ๆ ก็พอ เพราะหากใช้น้ำที่ร้อนเกินไปคงรู้สึกทรมานมากกว่า หลังอาบน้ำอุ่น เสร็จแล้วควรเปลี่ยนมาอาบน้ำอุณหภูมิปกติทันที
5. ทำกิจกรรมทุกเช้า?
ทั้งที่รู้ว่าการตื่นเช้าเป็นเรื่องดี แต่คงมีหลายคนอยากขดตัวนอนใต้ผ้าห่ม มากกว่า ลองหากิจกรรมที่ทำในตอนเช้า เช่น รดน้ำต้นไม้ วิ่งจ๊อกกิ้ง ไป ตลาดสด หรือแวะดื่มกาแฟร้านโปรดในบรรยากาศสบายๆ ไม่เร่งรีบ เป็นต้น มาเป็นตัวกระตุ้นให้อยากตื่นเช้ากันดีกว่า เพราะ ยิ่งตื่นเช้ามากเท่าไร ก็มี เวลาเหลือให้ทำกิจกรรมที่ชอบได้มากมาย ก่อนออกไปทำงาน แถมยังเดินทาง สบายๆ ไม่ต้องเบียดเสียดกับใคร
เมื่อตื่นเช้าได้จนเป็นนิสัยแล้ว จะพบว่าสุขภาพกายและใจดีขึ้น มี พละกำลังพร้อมทำสิ่งต่างๆ มากมายโดยไม่รู้สึกเหนื่อยล้า พร้อมใช้ชีวิต ประจำวันได้อย่างเต็มที่
อ้างอิงข้อมูลจาก : หนังสือ แค่นอนดี ก็ผอมได้
#ใจข้าว #น้ำมันรำข้าว #JaiKaoRiceBranOil #ricebranoil #ให้ใจข้าวช่วยดูแลคุณ #JaiKaoSelfCare